โรคเท้าช้าง elephantiasis (Lymphatic Filariasis)
ICD10: B74.0/B74.1

สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อพยาธิ round, thread-like worms Wuchereria bancrofti, Brugia malayi  และBrugia timori

The microfilariae of W. bancrofti can be identified in blood smears by their sheat

สถานที่พบโรค

พบได้ในประเทศบริเวณเขตร้อน ของเอซีย อาฟริกา หมู่เกาะปาซิฟิกตะวันตก อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคเท้าช้างชนิด Brugia malayi   ในบริเวณรอบป่าพรุ (Forest Swamp) บางพื้นที่ของสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ และนราธิวาส พบผู้ป่วยโรคเท้าช้างชนิด Wuchereria bancrofti  สายพันธุ์เขตชนบท พบในบริเวณป่าชื้นที่มีต้นไผ่ ชายแดนไทยพม่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี และพบ Wuchereria bancrofti  สายพันธุ์เขตเมืองในแรงงานชาวพม่า ที่มาจากเมืองมะละแหม่ง ปะอัน ทะวาย และย่างกุ้ง มียุง Culex quiquefasciatus  ที่เพาะพันธุ์ในแหล่งน้ำเสียในชุมชนเขตเมืองเป็นพาหะนำโรค

สถานะการณ์โรคเท้าช้าง

ในประเทศไทย อัตราตรวจพบไมโครฟิลาเรียจากที่เคยพบ 3.16% ใน พ.ศ.2504 ลดลงเหลือ 0.12% ในปี พ.ศ.2543 พื้นที่แพร่เชื้อในปัจจุบันมี 7 จังหวัดคือ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ และนราธิวาส อัตราความชุกของโรคเท้าช้างในประเทศไทยคิดเป็นอัตรา 0.71 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยชาวพม่าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 15-24 ปี ที่มาจากเมืองมะละแหม่ง มีอัตราตรวรจพบเชื้อสูงสุด 6.94% ยุงนำโรคในพม่าคือ Culex quiquefasciatus  และยุงสายพันธุ์นี้ในประเทศไทยสามารถรับและแพร่เชื้อได้ถึง 80%

ระยะฟักตัว

5-18 เดือนหลังจากที่ถูกยุงนำโรคกัด เชื้อ Brugia malayi   และ Wuchereria bancrofti  มีชีวิตอยู่ 4-6 ปี จะเกิดไมโครฟิลาเรียจำนวนมาก (minute larvae) แพร่กระจายไปในกระแสเลือด

อาการและอาการแสดง

เกิดจากการที่ตัวแก่ของพยาธิที่อาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลือง ทำให้ระบบท่อทางเดินน้ำเหลืองอุดตัน ทำให้เกิดอาการบวมเป็นแผลและติดเชื้อ เกิดอาการบ่อยที่สุดบริเวณที่บริเวณขาและขาหนีบ เป็นโรคเท้าช้าง (elephantiasis), โรคถุงน้าลูกอัณฑะ (testicular hydrocele) ในรายที่เป็นมากจะบวมบริเวณแขนขา ลูกอัณฑะ บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ และเต้านม

การตรวจวินิจฉัย

วิธีใหม่ทางอิมมูนวิทยาและชีวโมเลกุล ตรวจ Immuno Chromatographic Test (ICT) สำหรับการตรวจหาโปรตีน AD12 หรือ Og4C3 ของพยาธิ Wuchereria bancrofti  รวมทั้งวิธี ELISA และ PCR สามารถตรวจได้ทุกเวลาแม้ว่าจะมีไมโครฟิลาเลียในเลือดน้อยมากก็ตาม

วิธีดั้งเดิมคือตรวจเลือดโดยย้อมยิมซ่าเพื่อหาไมโครฟิลาเลียในเลือด ซึ่งต้องเจาะเลือดตอนที่คาดว่าจะพบเชื้อในเลือดคือในเวลาใกล้เที่ยงคืน (nocturnal periodicity)

การรักษาและมาตรการควบคุมโรค

องค์การอนามัยโลก เน้นการรักษาแบบกลุ่ม โดยใช้ยา Di-Ethylcarbamazine Citrate (DEC) Hetrazan หรือ Ivermectin มีฤทธิ์ทำลายไมโครฟิลาเรีย ให้ยา DEC แบบรับประทานครั้งเดียว ร่วมกับ Albendazole ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายพยาธิตัวแก่ (การรักษาใช้ DEC 4 to 6 mg/kg per day for 14 days, single-dose DEC treatment with 6 mg/kg)

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

การตรวจหาเชื้อในแรงงานต่างชาติเวลากลางวันด้วยวิธี Provocative test แล้วตรวจหาเชื้อไมโครฟิลาเรีย ซึ่งมีความไวเพียง 50-80%ของการตรวจเวลากลางคืน มีโอกาสตรวจพบเชื้อได้น้อย จึงควรเปลี่ยนมาใช้วิธี ICT ซึ่งสะดวกและความไวมากขึ้น

การควบคุมโรคเท้าช้างในประเทศไทย ใช้วิธีรักษารายกลุ่มเป็นการตัดการแพร่กระจายเชื้อ จะสามารถควบคุมโรคเท้าช้างที่มีอยู่จำนวนน้อยให้หมดไปได้

แต่โรคเท้าช้างจากแรงงานต่างชาติ กระจายไปเกือบทุกพื้นที่การควบคุมโรคมีข้อจำกัด หากยังเป็นเช่นนี้อยู่ต่อไป ก็มีโอกาสที่จะเกิดโรคเท้าช้างกลับมาครั้งใหม่ น่าจะเป็นปัญหาใหญ่กว่าเดิม

เอกสารอ้างอิง

  1. http://www.astdhpphe.org/infect/lymphfil.html
  2. http://www.cdc.gov/ncidod/dpd/parasites/lymphaticfilariasis/factsht_lymphatic_filar.htm
  3. http://www.who.int/health-topics/lymphfil.htm
  4. http://www.who.int/ctd/filariasis/docs/FactShee.pdf
  5. การสัมมนา โรคติดเชื้อที่อุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ 3-5 เมษายน 2544 โรงแรมเอเซีย กทม. กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข
  6. ยง ภู่วรวรรณ โรคติดเชื้อที่อุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ, โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2544

ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค