ไวรัสตับอักเสบ บี (Hepatitis B)
ICD-10: B16

The hepatitis B virus (HBV), recognizable under magnification by the round, infectious “Dane particles” accompanied by tube-shaped, empty viral envelopes, causes nearly 80 percent of liver cancers worldwide. Phototake NYC/Institute

ประเทศไทยมีความชุกชุมของตับอักเสบ บี สูง อัตราการเป็นพาหะในประชากรไทย ประมาณ 6-8 % สตรีตั้งครรภ์เป็นพาหะโรคตับอักเสบ 6 % และในผู้ที่เป็นพาหะนี้จะพบ HBeAg 40% ประเทศไทยเริ่มโครงการป้องกันไวรัสตับอักเสบด้วยวัคซีนในทารกแรกเกิด พ.ศ.2535 เชื้อไวรัสตับอักเสบ บี พบได้ในเลือด น้ำเหลือง สิ่งคัดหลั่ง ของคนที่มีเชื้อนี้ ทางเข้าของเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ได้แก่

1.ได้รับเลือด น้ำเหลือง ของผู้ที่มีเชื้อนี้

อาจเกิดจากการใช้ของมีคม ของใช้ที่เปื้อนเลือดร่วมกับผู้ติดเชื้อ เช่น ใบมีดโกน แปรงสีฟัน อุปกรณ์สักผิวหนัง การเจาะหูที่ไม่สะอาด เชื้อสามารถเข้าทางผิวหนังที่ถลอก มีบาดแผล สำหรับการรับบริการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลโอกาสติดเชื้อน้อยมาก เลือดที่ให้ผู้ป่วยจะตรวจสอบว่าไม่มีเชื้อแน่นอน เข็มใช้เฉพาะบุคคล อุปกรณ์ทางการแพทย์ทุกชนิดจะทำให้ปราศจากเชื้อก่อนใช้งานทุกครั้ง

2.ทางเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อนี้

พบเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้ในน้ำอสุจิ น้ำช่องคลอด เมื่อคู่สมรสมีเชื้อ อีกฝ่ายหนึ่งต้องตรวจเลือดว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบ บี แนะนำฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ การใช้ถุงยางอนามัย ก็สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ได้

3.ทารกที่คลอดจากมารดาที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี

อาจติดเชื้อได้ระหว่างคลอด การเลี้ยงดูใกล้ชิด ปัญหานี้ลดลงในปัจจุบัน เนื่องจากแพทย์จะฉีดวัคซีน HB1 ให้ทารกแรกคลอดทันทีร่วมกับการให้ภูมิคุ้มกันโรค (HBIG)

4.ทางสัมผัสใกล้ชิด (Close contact)

ระหว่างผู้มีเชื้อนี้กับผู้อื่น เช่น สมาชิกในครอบครัว เด็กวัยเรียน การกินเหล้ามีส่วนทำให้เชื้อกำเริบได้ ทำให้มีตับอักเสบ มะเร็งตับได้ ต้องรักษาตัวหรือไม่ ขึ้นกับว่า คุณมีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ร่วมกับความผิดปกติของตับหรือไม่ ถ้ามี ตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง มะเร็งตับ ก็ต้องรับการรักษาแน่นอน ถ้าไม่มีปัญหา เป็นเพียงพาหะ (Carrier) ก็ไม่ต้องรักษาใดๆ แต่ควรตรวจติดตามเป็นระยะๆ เชื้อไวรัสตับอักเสบ มีหลายตัว ได้แก่ไวรัสตับอักเสบ A, B, C, D, E, G, X

การให้วัคซีนตับอักเสบบี

ฉีดวัคซีนตามระบบปกติของกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่แรกเกิด (0,2,6)เดือน (เริ่ม พ.ศ.2535 เด็กปัจจุบันที่อายุเกิน 9 ปีจึงไม่ได้วัคซีนตามโครงการ) ในเด็กเล็กฉีดเข้ากล้ามที่หน้าขา Anterior-lateral of thigh ในเด็กโตและผู้ใหญ่ฉีดเข้ากล้ามที่ Deltoid musscle จะดีกว่าฉีดที่สะโพก

ให้วัคซีนตับอักเสบบีพร้อม HBIG เมื่อแรกเกิด (ถ้าแม่เป็นพาหะ) HBIG ไม่มีผลต่อการสร้างภูมิต้านทาน และให้วัคซีนตับอักเสบ B กระตุ้นแบบ 0,1,6 เดือน

วัคซีน DNA Recombinant จากยีสต์ในประเทศไทย

Glaxo Smithkline Belgium Engeric-B
MSD USA H-Bvaxil
KaketsukenJapan Bimmugen
Aventis Korea Euvax B

เอกสารอ้างอิง

  1. แพทย์หญิงสุมนา อร่ามเรือง อายุรแพทย์ http://www.thaiclinic.com/hepb.html
  2. วัคซินป้องกันโรคตับอักเสบ เรื่องควรรู้สำหรับเวชปฏิบัติ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ พญ.วรนุช จงศรีสวัสดิ์
  3. การสัมมนาวิชาการ โรคติดเชื้อที่อุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ 3-5 เมษายน 2544 โรงแรมเอเซีย กทม. กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข

ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค