โครงการศึกษาระบาดวิทยาของซีโรทัยป์ของเชื้อไวรัสเดงกี่ จังหวัดพิษณุโลก

Epidemiological studies of dengue serotypes Phitsanulok province.

หน่วยงานรับผิดชอบ

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์พิษณุโลก

หน่วยงานที่ร่วมโครงการ

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก, รพ.พุทธชินราช, รพ.สมเด็จพระยุพราชนครไทย, รพ.ชาติตระการ, รพ.บางระกำ, รพ.บางกระทุ่ม, รพ.พรหมพิราม, รพ.วัดโบสถ์, รพ.วังทอง, รพ.เนินมะปราง

ความสำคัญและที่มาของปัญหา

ไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue) จัดอยู่ใน genus Flavivirus, family Flaviviridae แบ่งออกเป็น 4 serotypes คือ DEN-1, DEN-2, DEN-3, DEN-4 ทั้ง 4 serotype ก่อให้เกิดโรคได้ทั้ง Dengue fever (DF), Dengue hemorrhagic fever (DHF), และ Dengue shock syndeome (DSS) เชื้อแพร่มาสู่คนโดยยุง Aedes aegypti ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไวัรัสเดงกี่ก่อโรคได้รุนแรงประกอบด้วย อายุ เพศ เชื้อชาติ การติดเชื้อซ้ำ และสายพันธุ์ของไวรัส (viral strain) ในพื้นที่ที่ไวรัสเดงกี่หลาย serotype เป็นเชื้อประจำถิ่นจะทำให้มีโอกาสติดเชื้อซ้ำสูง การติดเชื้อซ้ำด้วย DEN-2 ตามหลัง DEN-1 มีความเสี่ยงสูงมากกว่า sequence แบบอื่น คือ DEN-2 ตามหลัง DEN-1และ DEN-2 ตามหลัง DEN-4 ตามลำดับ (1)

ไวรัสเดงกี่เข้ามาระบาดในไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2501(2) จากนั้นก็จะเป็นโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศเรื่อยมา โดยมีการระบาดเป็นไข้เดงกี่ (DF) และไข้เลือดออก (DHF) ทุก 2-3 ปีจนกระทั่งเกิดระบาดรุนแรงในปี พ.ศ. 2530 และปี พ.ศ2541โดยในปี 2541 มีผู้ป่วยถึง 120,000 ราย เสียชีวิต 400 ราย (3) ในจำนวนนี้คิดเป็น DF ร้อยละ 13 DHF ร้อยละ 85และ Dengue Shock Syndrome (DSS) ร้อยละ 1.86 (4)ในปี 2544 โรคไข้เลือดออกกลับมาระบาดอีกครั้ง

การระบาดของประเทศ พ.ศ.2541

type ร้อยละ
DF 13
DHF 85
DSS 1.86

จากรายงานของกองระบาดวิทยา พบว่าปีนี้ จังหวัดพิษณุโลก มีอัตราป่วย 422.95 ต่อแสนประชากรและมีอัตราผู้ป่วยตายร้อยละ 0.16 และจากการศึกษา serotype พบเชื้อทั้ง 4 serotype คือ serotype-1 ร้อยละ 40.8, serotype-2 ร้อยละ 37.9, serotype-3 ร้อยละ 18.4, serotype-4 ร้อยละ 1.9, การติดเชื้อด้วย serotype 1และ 3 เป็นการติดเชื้อครั้งแรกร้อยละ 47.6 และ 68.4 การติดเชื้อครั้งที่ 2 ร้อยละ 33.3 และ 26.3 ตามลำดับ ส่วน serotype 2 จะเป็นการติดเชื้อครั้งแรกร้อยละ 12.8 และครั้งที่ 2 ร้อยละ 76.9 แสดงว่าผู้ป่วยเคยติดเชื้อไวรัสเดงกี่มาแล้ว แต่ไม่ไช่ serotype 2 จึงไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อซ้ำได้

การระบาดในจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ.2544

serotype ร้อยละ
serotype 1 40.8
serotype 2 37.9
serotype 3 18.4
serotype 4 1.9

การติดเชื้อครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ในจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ.2544

serotype ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2
serotype 1 47.6 33.3
serotype 2 12.8 76.9
serotype 3 68.4 26.3

ข้อมูลอาจแสดงได้ว่า จ.พิษณุโลกเคยมีเชื้อเดงกี่ serotype 1 และ 3 เป็นเชื้อประจำถิ่นแล้วจึงมีเชื้อ serotype 2 เข้ามาระบาดใหม่ ทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมากและมีอาการรุนแรง เนื่องจากเป็นการติดเชื้อ serotype 2 ตามหลัง serotype 1 และ 3 จึงควรมีการเฝ้าระวังการระบาดของไวรัสเดงกี่ serotype ต่างๆ ตั้งแต่ต้นปีเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพยากรณ์สถานการณ์และความรุนแรงของโรค

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อทราบข้อมูลด้านระบาดวิทยาของเชื้อไวรัสเดงกี่ซีโรทับป์ที่ระบาดในจังหวัดพิษณุโลก
  2. เพื่อใช้ข้อมูลในการควบคุมและปองกันโรคไข้เลือดออก

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. มีระบบการเฝ้าระวัง serotype ของเชื้อไวรัสเดงกี่
  2. ทราบข้อมูลทางระบาดวิทยาของ serotype เหล่านี้
  3. สามารถคาดคะเนความรุนแรงของโรคที่อาจเกิดระบาดต่อไป

หน่วยงานที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

เอกสารอ้างอิง

  1. สุจิตรา นิมมานนิตย์ ไข้เลือดออกเดงกี่. บริษัท ดีไซน์จำกัด กรุงเทพมหานคร 2540
  2. Gubler D.J.and Kuno G.Dengue and Dengue Hemorrhagic Fever. CAB international Wallingford UK 1997 p9.
  3. ศิริชัย พรรณธนะ สี่ทศวรรษของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย. จุลสารไข้เลือดออก 2542; (2) : 3
  4. กองระบาดวิทยา สถานการณ์ไข้เลือกออก ปี พ.ศ.2543. เอกสารอัดสำเนา

Back