การประเมินภาวะเสี่ยงของหญิงมีครรภ์
เจ้าหน้าที่เป็นผู้บันทึก
ประวัติส่วนตัว
- ตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 17 ปี หรือมากกว่า 35 ปี
- ประวัติคลอดก่อนกำหนด (คลอดก่อน 37 สัปดาห์)
- ครรภ์แรกหรือครรภ์ที่ 4 ขึ้นไป
- เคยคลอดลูกน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัมขึ้นไป
- เคยผ่าตัดที่มดลูก
- ประวัติโรคห้วใจ
คำแนะนำ ถ้าพบภาวะข้อ 1-6 แม่ต้องไปตรวจครรภ์ทุกครั้งตามนัด และต้องได้รับการทำคลอดโดยแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
การตรวจพบ
- เป็นโรคโลหิตจาง (Hb < 11gms หรือ Hct. < 33%)
- พบไข่ขาวในปัสสาวะไม่ว่าจะเป็นกี่บวกก็ตาม
- พบน้ำตาลในปัสสาวะไม่ว่าจะเป็นกี่บวกก็ตาม
- ตรวจ VDRL ได้ผลบวก
- ความดันโลหิต 140/90 มิลลิเมตรปรอทหรือมากกว่า
- ต่อมไทรอยด์โต
- เป็นโรคหัวใจ
- ขนาดมดลูกไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์
- ครรภ์แฝด
- ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ (ไม่ใช่ท่าศรีษะ) ตั้งแต่ 34 สัปดาห์ขึ้นไป
- เลือดออกขณะตั้งครรภ์
- ตั้งครรภ์เกินกว่า 40 สัปดาห์
- น้ำหนักขึ้นน้อยกว่า 1 กิโลกรัม/เดือน
- เด็กดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้ง/วัน ตั้งแต่ 32 สัปดาห์ขึ้นไป
คำแนะนำ
- ใช้ทุกครั้งที่มีการให้บริการตรวจตรรภ์
- เมื่อพบภาวะเสี่ยงในข้อ 7-20 ต้องส่งต่อหรือรายงานแพทย์
สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก กรมอนามัย
ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
|