ปลาปักเป้า (Globe fish, Puffer fish, Fugu)

ชาวบ้านเรียกว่าปลาเนื้อไก่ อาศัยในน้ำจืดและน้ำทะเล บางชนิดมีพิษ ปากคล้ายนกแก้ว ครีบอกและครีบหางใหญ่ ครีบหางและก้นเล็ก หนังเหนียวมีตุ่มหรือหนามกระจายทั่วตัว หนามอาจยาวหรือสั้นแล้วแต่ชนิด หากถูกรบกวนจะพองตัวใหญ่ขึ้นจนโป่งกลม อาศัยอยู่บริเวณที่เป็นทรายหรือทรายปนโคลน มักจับได้ด้วยอวนลากหน้าดิน

ตามบันทึกของชาวจีนและชาวญี่ปุ่น ปลาปักเป้ามีพิษทั้งในตับ ลำไส้ เนื้อ หนัง ไข่ และดี มีความเสี่ยงสูงต่อการบริโภค tetrodotoxin อาจทำให้ผู้บริโภคถึงตายได้

ประเทศไทยมีปลาปักเป้า 23 ตระกูล (family) tetradontidae และตระกูล diodontidae (ปักเป้าหนามทุเรียน) รูปที่ 1

tetrodotoxin มีผลต่อกล้ามเนื้อ อัมพาตต่อระบบหายใจ ระบบไหลเวียนของโลหิต ในคนจะมีอาการปวดท้องคลื่นไส้ อาเจียน คันริมฝีปาก กระตุกที่ลิ้น ปลายนิ้ว ระคายในคอ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เดินไม่ไหว เป็นอัมพาต หายใจขัด ชีพจรเร็ว อุณหภูมิร่างกายลดต่ำ หัวใจวาย

tetrodotoxin (TTXs) มีสูตรโมเลกุลคือ C11H17O8N3 ไม่สลายตัวด้วยความร้อน การทำให้สุกด้วยความร้อนจึงไม่ลดความเป็นพิษ นอกจากพบในปลาปักเป้าแล้ว ยังพบในปลาหมึกสายบางชนิด หอยกาบบางชนิด และปลาชนิดอื่นๆ

ชนิดที่บริโภคได้ต้องลอกหนังปลาและเครืองในออกทิ้งและล้างเนื้อปลาให้สะอาด ควรที่กระทรวงสาธารณสุข ต้องป้องกันมิให้นำเนื้อปลาที่ไม่ทราบชนิดมาจำหน่ายหรือบริโภค

References

  • สุริยะ คูหะรัตน์, สถานการณ์การเฝ้าระวังโรค, กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, ปีที่ 4 ฉบับที่ 2; ตุลาคม 2545
  • สุรจิต สุนทรธรรม, โรคพิษอาหารทะเล, ในสมชัย บวรกิตติ, เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม เฉลิมพระเกียรติ, เรือนแก้วการพิมพ์; p1298

ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค