โรคสมองฝ่อในวัว หรือที่นิยมเรียกว่าโรควัวบ้า

โรคสมองฝ่อในวัว BSE (Bovine Spongiosum Encephalopathy) หรือที่นิยมเรียกว่าโรควัวบ้า (Mad Cow Disease) เป็นโรคติดต่อที่พบในวัว ระยะฟักตัว 4-5 ปี อัตราป่วยตาย 100% วัวที่ป่วยทุกตัวจะตายภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือนเท่านั้น เริ่มพบโรคนี้ครั้งแรกในฝูงวัวที่ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2529 (ส่วนโรค scrapie พบในแพะ แกะ ในยุโรป)

แหล่งที่มาของการระบาด

อาหารเลี้ยงวัว เนื้อและกระดูกป่น (Meat and bone meal) ที่มีส่วนผสมของซากสัตว์เคี้ยวเอื้องหรือสัตว์ 4 กระเพาะ (ruminants) จำพวก วัว แพะ แกะ

สาเหตุ

สารก่อโรค BSE agent ที่แพร่ติดต่อได้ ก่อพยาธิสภาพที่ สมองและไขสันหลัง ทำให้เนื้อเยื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงมีลักษณะพรุนคล้ายฟองน้ำ มองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา
พรีออน (prion) เป็นโปรตีนขนาดเล็กที่มีสารพันธุกรรมน้อยมาก (nucleic acid) ถูกหุ้มด้วยโปรตีน แต่สามารถเพิ่มจำนวนได้เอง Prion protein (PrP) เกี่ยวโยงกับโรค scrapie และ BSE (มีคุณสมบัติคล้ายไวรัส) ทำให้เกิดการติดเชื้อต่อไปได้ agent นี้มีความคงทนมาก ทนต่อความเย็นจนเป็นน้ำแข็ง ความแห้งแล้ง ความร้อนที่อุณหภูมิหุงต้มปกติ หรือแม้แต่อุณหภูมิระดับ Sterilization

การติดต่อ

เกิดจากกินอาหารที่ปนเปื้อนสารก่อโรคเข้าไป

อาการในวัว

วัวจะแสดงอาการทางระบบประสาท เช่น ตื่นกลัว ดุร้าย ไวต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ (แสง เสียง) วัวนมจะให้นมลดลง ระยะท้าย ๆ จะเสียอาการทรงตัว ขาหลังสั่น ล้ม ยืนขึ้นไม่ได้ ตายในระยะเวลาเป็นสัปดาห์หรือ 1-6 เดือนหลังจากเริ่มมีอาการ

สถานการณ์

  • นับตั้งแต่ พ.ย.2529 - ธ.ค.2543 มีรายงานวัวเป็นโรคนี้ 180,000 ตัวที่ประเทศอังกฤษ
  • 2532- ธ.ค.2543 พบในวัวที่ประเทศ ฝรั่งเศส สาธารณรัฐไอร์แลนด์ โปรตุเกส และ สวิสเซอร์แลนด์ ประมาณ 1,500 ตัว และพบจำนวนน้อย ในประทศ เบลเยียม เดนมาร์ค ลิกเตนสไตน์ ลักเซมเบอร์ก เนเธอแลนด์
  • พ.ย.2543 พบใน สหพันธ์สาธาณรัฐเยอรมันนี และ สเปน
  • 2543 พบเพิ่มใน คานาดา หมู่เกาะฟอร์คแลนด์ อิตาลี และโอมาน (www.oie.int)
  • 2544 พบเพิ่มในญี่ปุ่น

โรค TSEs (Transmisible Spongiosum Encephalopathy) ในคน

โรคแบบดั้งเดิม CJD คร็อยเฟลต์-จาคอบ (Creutzfeldt-Jacob's Disease)

เกิดแบบประปราย (sporadic) อุบัติการน้อยมาก 1 ในล้านประชากร พบในคนสูงอายุ อายุเฉลี่ย 65 ปี ระยะฟักตัว 4.5 เดือน เช่น เกิดจากการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา, การปลูกเยื่อหุ้มสมองซึ่งจะติดเชื้อจากเนื้อเยื่อที่นำมาใช้ หรือจากเครื่องมือแพทย์ที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่

โรค vCJD แวเรียนต์ คร็อยเฟลต์-จาคอบ (varient Creutzfeldt-Jacob's Disease)

พบครั้งแรกในอังกฤษ (พ.ศ.2537) เกิดในคนหนุ่มสาว อายุเฉลี่ย 29 ปี ระยะฟักตัว 12 เดือน ระยะเวลาป่วยเฉลี่ย 14 เดือน วิธีการติดต่อที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ การรับประทานผลิตภัณฑ์ ที่ทำจากส่วนของอวัยวะและเนื้อเยื่อของวัวที่เป็นโรค BSE การวินิจฉัย ดูจากอาการทางคลินิก

อาการของโรค vCJD

ช่วงแรกมีอาการซึมเศร้า มีอาการผิดปกติทางประสาทรับความรู้สึก เช่นรู้สึกว่าผิวหนังเหนียวเหนอะหนะ อาการทางระบบประสาท ได้แก่สับสน เสียการทรงตัว เดินลำบาก ในระยะท้าย เคลื่อนใหวและพูดไม่ได้ เสียชีวิตทุกราย ระยะเวลาป่วยเฉลี่ย 14 เดือน

การทำลายเชื้อ CJD

ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำคือ 133 องศาเซลเซียส, 3 Barr และ 30 นาที
การประชุมครั้งล่าสุด WHO มีนาคม 2542 Autoclave ยังไม่ได้ผลเต็มที่ จะต้องมีวิธีอื่นอีก

การดำเนินงานของประเทศไทย กรมปศุสัตว์

  • ห้ามนำเข้าโคมีชีวิตและซากโคจากยุโรป
  • ห้ามนำเข้าอาหารสัตว์ที่มีส่วนผสมของเนื้อป่น กระดูกป่น จากประเทศที่มี BSE แต่ยังคงมีการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์เฉพาะเศษเนื้อ กระดูกไก่และสุกร นำไปเลี้ยงสุนัขและสุกรโดยไม่ได้นำไปเลี้ยงโค
  • ห้ามนำเข้าอาหารสัตว์ที่มีส่วนผสม จากโค แพะ แกะ ตั้งแต่ปี 2539 และตั้งแต่ปี 2543 ห้ามนำเข้าอาหารสัตว์ ชนิดเนื้อป่นและกระดูกป่นจากสัตว์ทุกชนิด ยกเว้นปลาป่น จากประเทศสหภาพยุโรปและประเทศที่มีโรค BSE

The FDA took a step to protect U.S. cattle against bovine spongiform encephalopathy, or mad cow disease, the nervous system infection that had afflicted thousands of cows in Britain since the 1980s and had been linked to an incurable brain disease in humans. The FDA banned the use of tissue from various animals, including cattle, goats, and sheep, in animal feed.

References

  1. การสัมมนา โรคติดเชื้อที่อุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ 3-5 เมษายน 2544 โรงแรมเอเซีย กทม. กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข
  2. ยง ภู่วรวรรณ โรคติดเชื้อที่อุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ, โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2544
  3. การประชุมวิชาการแพทย์อาชีวเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย 2545 วันที่ 3-5 เมษายน 2545 ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค
  4. HARISON‘s Principls of internal Medicine 15th Edition CD-ROM

ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค