การตรวจ X-ray Mamogramเป็นวิธีตรวจพิเศษทางเอกซเรย์ที่สามารถแสดงภาพเนื้อเยื่อต่างๆของเต้านม รวมทั้งสามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกได้ด้วย โดยที่เครื่องตรวจนี้ถูกออกแบบพิเศษสำหรับกดเต้านมให้แบน เพื่อให้ได้ภาพของเต้านมที่มีคุณภาพในการตรวจหาสิ่งผิดปกติได้อย่างชัดเจน โดยใช้เอกซเรย์ปริมาณน้อย จึงไม่มีอันตรายใดๆในการตรวจทั้งสิ้น มีเหตุผลสองประการในการตรวจ Mamogram คือ
เพื่อการวินิจฉัยเป็นการตรวจวินิจฉัยเมื่อผู้ป่วยหรือแพทย์พบสิ่งผิดปกติในเต้านม เช่น การหนาตัว (Thickening) เต้านมมีขนาดเปลี่ยนแปลงหรือรูปร่างเปลี่ยนไป มีของเหลวไหลออกจากหัวนม (nipple discharge) มีการดึงรั้งกลับของหัวนม (retraction of the nipple) หรือพบก้อนเนื้อในเต้านม เป็นต้น เพื่อตรวจคัดกรองเป็นการตรวจหาสิ่งผิดปกติในเต้านมที่อาจจะเป็นมะเร็งได้ ตรวจในผู้หญิงที่สุขภาพปกติดี Screening Mamography สามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงในเต้านมแม้จะเริ่มเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย (tiny change) ซึ่งอาจเกิดจากมะเร็งเป็นการช่วยแพทย์ในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งของเต้านมในระยะเริ่มแรกได้ สถาบันโรคมะเร็งสหรัฐอเมริกา (The American Cancer Society) แนะนำแก่หญิงที่ยังไม่มีอาการใดๆว่า ถ้ามีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมควรตรวจ Mamogram ให้บ่อยขึ้นการอบรมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ระยะสั้น ครั้งที่ 23 พ.ศ.2537 Mamogram สามารถตรวจพบก้อนขนาดเล็กซึ่งตัวท่านเองหรือแพทย์ผู้ตรวจจะคลำไม่พบ ในสตรีอายุ 50-64 ปี หรืออายุมากกว่า ควรตรวจทุก 3 ปี ผู้รับการตรวจส่วนใหญ่จะไม่รู้สึกเจ็บ แต่มีส่วนน้อยมากอาจรู้สึกเจ็บบ้างขณะตรวจ ข้อจำกัด : 7% ของมะเร็งเต้านมนั้นตรวจไม่พบโดย Mamogram ที่มา : http://www.cancerscreening.nhs.uk/breastscreen/index.html บางครั้งก้อนที่คลำพบได้กลับไม่ปรากฏใน mamogram เพราะมองไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงในเนื่อเยื่อที่มีความหนาแน่นโดยเฉพาะในผู้หญิงที่อายุน้อย (Mammography is not foolproof. Some breast changes, including lumps that can be felt, do not show up on a mammogram. Changes can be especially difficult to spot in the dense, glandular breasts of younger women.) ที่มา : http://healthlink.mcw.edu/article/926792743.html สตรีทุกคนควรตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน และผู้ที่อายุ 45-60 ปีควรได้รับการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์แมมโมแกรม 1 ครั้งทุก 2 ปี แผ่นพับ พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2544 จำนวน 15,000 แผ่น การปฏิบัติตนเพื่อการป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค |