แปปสเมียร์ (Pap smear) คืออะไรกรุณาอธิบายความหมายของ PAP SMEAR ด้วยค่ะว่ามีขั้นตอนอย่างไร และผลของการตรวจมีความมั่นใจอย่างไร
สวัสดีค่ะ Pap ย่อมาจาก Papanicolaou ซึ่งเป็นผู้ค้นพบวิธีย้อมสีเซลล์ ทำให้เซลล์ปกติ และเซลล์ผิดปกติ เช่นเซลล์มะเร็งติดสีแตกต่างกัน จึงเรียกวิธีย้อมนี้โดยย่อว่า Pap smear สามารถตรวจเซลล์จากทุกอวัยวะได้ นิยมตรวจที่เซลล์ปากมดลูกมากที่สุด เพราะเก็บเซลล์ง่าย และเพราะมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีที่พบบ่อย ในประเทศไทยพบมากเป็นอันดับที่ 1 ในขณะที่ประเทศที่เจริญ ประชาชนมีความรู้ทางสาธารณสุขค่อนข้างดีเช่น USA อังกฤษ ออสเตรเลีย, มะเร็งปากมดลูกพบเป็นอันดับท้ายๆ ทั้งนี้เพราะมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการตรวจ Pap smear สม่ำเสมอ ปีละครั้งหรือตามแพทย์นัด จะทำให้สามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ได้ตั้งแต่ยังไม่เป็นมะเร็งแท้จริง หรือเริ่มเป็นมะเร็งระยะต้นยังไม่ลุกลาม เมื่อรักษาเสียก็เป็นการตัดวงจรของการกลายเป็นมะเร็งได้ การตรวจคือการตรวจภายในนั่นเอง แพทย์จะใช้ไม้เล็กๆแบนๆ คล้ายไม้ไอศกรีมป้ายปากมดลูก แล้วป้ายลงบนสไลด์ ส่งย้อม Pap ปกติการย้อมใช้เวลา 1-2 ช.ม. ก็นำมาอ่านและแปลผลได้แล้ว แต่เพื่อการประหยัดจึงย้อมพร้อมกันคราวละมากๆ ดังนั้นกว่าจะได้ผลก็จะประมาณ 3-7 วันแล้วแต่ lab แต่ละที่ควรไปตรวจ Pap ในระยะที่สบายดี ไม่มีตกขาวผิดปกติ ไม่ใช่กำลังมีระดู เพราะจะทำให้การแปลผลยาก และแปลผลผิดได้ แต้ถ้ามีเลือดออกกะปริบกะปรอยที่ไม่ใช่ระดูควรไปตรวจเลย ไม่ต้องรอเลือดหยุด เพราะการที่มีเลือดออกผิดปกติก็เป็นอาการหนึ่งของมะเร็ง สตรีทุกคนที่มีเพศสัมพันธ์แล้วควรตรวจทุกคน แต่ถ้ายังไม่มีควรเริ่มตรวจเมื่ออายุ 35 ปี เป็นต้นไป USA แนะนำตั้งแต่อายุ 20 ปี เพราะเขา มีเพศสัมพันธ์กันไว ไม่ต้องกลัวเจ็บ แพทย์ผู้ตรวจจะเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม ใช้หล่อลื่นช่วย และพยายามตรวจให้นุ่มนวลระมัดระวังไม่ให้เจ็บอยู่แล้ว หมอทุกคนอยากได้รับคำชมว่ามือเบาทั้งนั้นละค่ะ Dr.OU23 Sep 2001 www.thaiclinic.com/question/question_pap.html อัตราป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก 23.4 ต่อแสนประชากร จำนวนป่วยประมาณ 6,000 รายต่อปี พบมากเมื่อสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป แนวทางตรวจสุขภาพในผู้ใหญ่ทั่วไปPap smear ตรวจเมื่อสตรีเริ่มมีเพศสัมพันธ์ หรืออายุ 35 ปี ปีละ 1ครั้ง x 3 ปี หลังจากนั้นตรวจทุก 3 ปีการเตรียมตัวก่อนมาตรวจ Pap Smearไม่ใส่ยาในช่องคลอดหรือล้างช่องคลอดก่อนตรวจ 24-48 ชั่วโมงงดเพศสัมพันธ์ 24-48 ชั่วโมง ไม่ควรตรวจภายในมาแล้ว 24 ชั่วโมง ไม่ควรตรวจในช่วงมีประจำเดือน หรือถ้ามีการอักเสบที่ปากมดลูกควรรักษาให้หายเสียก่อน การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วย Pap Smmear มีความจำเพาะหรือ Specificity ถึงร้อยละ 99.8 อีกร้อยละ 0.2 เป็นผลบวกลวงเกิดจากความผิดพลาดในการแปลผลการอักเสบ Metaplasia เป็น Cervical Intraepithelial Neoplasia [CIN หรือ Dysplasia] หรือ Squamous Cell Carcinoma [SCC] แต่ผลบวกลวงไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการรักษาเพราะ การวินิจฉัยต้องอาศัยการตัดชิ้นเนื้อตรวจยืนยัน ความไวหรือ Sensitivity หมายถึงอัตราส่วนของสตรีที่เป็น CIN หรือ SCC แล้วตรวจพบด้วย Pap Smear เท่ากับร้อยละ 60-90 ซึ่งแสดงว่าร้อยละ 10-40 เป็นผลลบลวง [ผลลบลวง เกิดจาก Sample Error คือวิธีการทำ Pap Smear ไม่ถูกต้อง พบมากที่สุด, Screening Error มีเซลล์ผิดปกติบนสไลด์แต่ตรวจไม่พบความผิดปกติ, Interpretative Error วินิจฉัยเป็นกลุ่ม Benign แทนที่จะวินิจฉัยเป็นมะเร็ง พบน้อยมาก]
สตรีปกติเมื่ออายุครบ 35, 40, 45, 50, 55, และ 60 ปีควรได้รับการตรวจแปปสเมียร์ เพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง
Shingleton HM. Orr JW Jr. Philadelphia : J.B.Lippincott; 1995 : 1-69
What is a smear test?
References
ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค |