โรคอุจจาระร่วงอย่างแรง (Severe Dirrhea) ICD-10: A00, A00.0, A00.1
โรคอุจจาระร่วงอย่างแรงเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้อย่างเฉียบพลัน ที่มีอาการเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด มีอาการและอาการแสดงทางคลินิกร่วมกับมีผลทางห้องปฏิบัติการยืนยันว่าพบเชื้อ Vibrio cholerae O1 หรือ O 139
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อ Vibrio cholerae serogroup O1 EL Tor biotype ส่วนใหญ่จะเป็น Ogawa serotype และเชื้อ Vibrio cholerae O 139 ยกเว้นที่ประเทศบังคลาเทศยังคงพบ Classical biotype, เชื้อ Vibrio cholerae O 139 พบครั้งแรก ที่เบงกอล พ.ศ. 2535
แหล่งรังโรค
คนและสิ่งแวดล้อม พบเชื้อในไรน้ำและแพลงตอนในบริเวณน้ำกร่อย
วิธีการติดต่อ
โดยการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ
ระยะฟักตัว
2-3 ชั่วโมงจนถึง 5 วัน (โดยทั่วไป 2-3 วัน)
ระยะติดต่อ
ช่วงที่ยังตรวจพบเชื้อในอุจจาระจนถึงหลังระยะพักฟื้น 2-3 วัน สำหรับผู้ที่เป็นพาหะของโรค อาจถ่ายทอดเชื้อได้หลายเดือน
ยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้ระยะการติดต่อให้สั้นลง
อาการและอาการแสดง
ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำคราวละมากๆโดยไม่มีอาการปวดท้อง อุจจาระคล้ายน้ำซาวข้าว มีกลิ่นเหม็นคาวจัด บางครั้งมีอาเจียนร่วมด้วย ส่วนใหญ่มีอาการเพียงเล็กน้อยถ้าได้รับการทดแทนสารน้ำที่ถูกต้อง อาการจะไม่รุนแรง ถ้าไม่ได้รับการทดแทนสารน้ำที่สูญเสียไป จะมีอาการของการขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว มีภาวะความเป็นกรดสูงในเลือดและการใหลเวียนของโลหิตช้าลง
ในเด็กจะมีอาการขาดน้ำตาลในเลือดและภาวะไตวายได้
คำแนะนำสำหรับประชาชน
- การป้องกันโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง ได้แก่
- ล้างมือด้วยสบู่ก่อนรับประทานอาหารและหลังถ่ายอุจจาระและสัมผัสสิ่งปฏิกูล
- รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ไม่ให้มีแมลงวันตอม อาหารค้างต้องอุ่นให้ร้อนจัดก่อนรับประทาน
- ดื่มน้ำสะอาดจากแหล่งน้ำดื่มที่ปลอดภัยหรือต้มสุกจะดีที่สุด
- กำจัดสิ่งปฏิกูลตามหลักสุขาภิบาล
- เลี้ยงทารกด้วยน้ำนมแม่เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค
- ผู้ป่วยควรพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง และได้รับคำแนะนำเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
- ไม่แนะนำการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคเนื่องจากประสิทธิภาพของวัคซีนและระยะเวลาของภูมิคุ้มกันอยู่ในระยะสั้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ทุกรายต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยัน โดยการเพาะเชื้อ เพราะถือว่าเป็นโรคติดต่อร้ายแรง แม้พบผู้ป่วยเพียง 1 รายก็ถือว่ามีการระบาด
ยาที่ใช้รักษา
การให้สารน้ำทดแทนสำคัญที่สุด ให้ ORS หรืออาจต้องให้ iv fluid ยาปฏิชีวนะจะช่วยลดปริมาณอุจจาระ ระยะเวลาท้องเดิน และระยะเวลาที่มีเชื้อในอุจจาระ ดังนั้นควรให้ยาปฏิชีวนะรักษา เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
Vibrio cholera EL Tor Inaba
Generic name |
ขนาดยา |
ระยะเวลา |
Tetracyclin |
500 mg. วันละ 4 ครั้ง |
3 วัน |
Doxycyclin |
100 mg. วันละ 2 ครั้ง |
3 วัน |
Norfloxacin |
400 mg. วันละ 2 ครั้ง |
3 วัน |
Cotrimoxazole |
160/800 mg. วันละ 2 ครั้ง |
3 วัน |
Furazolidone1 |
100 mg. วันละ 4 ครั้ง |
3 วัน |
1 = ใช้ในรายผู้ป่วยตั้งครรภ์
non-O1/non O139 ยาปฏิชีวนะไม่จำเป็น ยกเว้น septicemic prone condition เช่น cirrhosis, uncontrolled Diabetes Mellitus, immunocompromised host
Generic name |
ขนาดยา |
ระยะเวลา |
Tetracyclin |
500 mg. วันละ 4 ครั้ง |
3 วัน |
Doxycyclin |
100 mg. วันละ 2 ครั้ง |
3 วัน |
Norfloxacin |
400 mg. วันละ 2 ครั้ง |
3 วัน |
Ofloxaxin2 |
300 mg. วันละ 2 ครั้ง |
3 วัน |
Ciprofloxaxin2 |
500 mg. วันละ 2 ครั้ง |
3 วัน |
Ceftazidine2 |
1gm ทุก 6 ชั่วโมง |
5-7 วัน |
2 = กรณีสงสัยมีการติดเชื้อรุนแรง
เอกสารอ้างอิง
- กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติงานเรื่อง การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย 2542.
- Beneson, A.S. Control of Communication Diseases in Man. American Public Health Association, Washington, D.C., 1995.94.
- สถานการณ์โรคเด่น 2543 ปีที่ 3 ฉบับ 1-6 กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข
- การสัมมนา โรคติดเชื้อที่อุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ 3-5 เมษายน 2544 โรงแรมเอเซีย กทม. กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข
- การควบคุมโรคอุจจาระร่วง ปัญหาและแนวทางแก้ไขในศตวรรษหน้า 24-26 ตุลาคม 2543 ห้องประชุม อารี วัลยะเสวี โรงพยาบาลรามาธิบดี
- http://www.who.int/inf-fs/en/fact107.html
- http://www.cdc.gov/ncidod/dbmd/diseaseinfo/cholera_g.htm
ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
|