โรคเมลิออยโดสิส Melioidosis
ICD-10: A24

เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญโรคหนึ่งของประเทศไทย พบบ่อยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาชีพเกษตรกรรม และพบในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนเหนือของออสเตรเลีย หากไม่ได้รับการรักษาจะถึงแก่กรรม แม้ว่าจะได้รับการรักษาก็มีอัตราตายสูงถึง 50% ผู้ที่อาการรุนแรงจะเสียชีวิตอย่างรวดเร็วภายใน 48 ชั่วโมง เมื่อได้รับการรักษาจนหายแล้ว 15% จะกลับเป็นโรคซ้ำอีก โรคที่เป็นซ้ำก็มีอาการรุนแรงเช่นครั้งแรก

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei

แหล่งรังโรค

เชื้อมีอยู่ใน ดิน น้ำ สัตว์หลายชนิด โค กระบือ แพะ แกะ ม้า สุกร ลิง และสัตว์แทะ เช่น สิงโต เป็นแหล่งแพร่โรค

วิธีการติดต่อ

โดยได้รับเชื้อเข้าไปทางบาดแผล หรือโดยการกิน และการหายใจ

ระยะฟักตัว

ไม่แน่นอน อาจสั้นเพียง 2-3 วัน หรือยาวนานเป็นปี

อาการและอาการแสดง

อาการมีตั้งแต่อาการเล็กๆ น้อยๆ จนถึงขั้นรุนแรงมาก เช่น มีไข้ ปอดบวม มีการติดเชื้อในกระแสโลหิต เสียชีวิตในเวลารวดเร็ว อาจมีอาการคล้ายไข้ไทฟอยด์ หรือวัณโรค ถุงลมโป่งพอง ฝีเรื้อรัง หรือข้อกระดูกอักเสบ

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

  1. ย้อมสีแกรม จากสิ่งส่งตรวจต่างๆ พบ แกรมลบ bipolar staining หรือ safty pin appearance
  2. ตรวจวิธี Indirect Hemaglutination test (IHA) ตรวจเลือดครั้งเดียวพบไตเตอร์ >= 1:160 หรือตรวจเลือดสองครั้งพบไตเตอร์เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 4 เท่า (four fold rising)
  3. ตรวจวิธี Immuno fluorescent antibody test (IFA) ตรวจเลือดครั้งเดียวพบไตเตอร์ >= 1:400 หรือตรวจเลือดสองครั้งพบไตเตอร์เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 4 เท่า (four fold rising)
  4. การเพาะเชื้อ จากเลือดหรือสี่งส่งส่งตรวจต่างๆ พบBurkholderia pseudomallei

ยาที่ใช้รักษา

ceftazidime ชนิดฉีด 2 สัปดาห์ต่อด้วยยาชนิดรับประทาน co-trimoxazole, doxycyclin, co-amoxiclav ต่ออีกจนครบ 20-24 สัปดาห์

หรือ imipenem หรือ cefoperzone/salbactam + cotrimoxazole ต่อด้วย cotrimoxazole + doxycyclin 20 สัปดาห์

เอกสารอ้างอิง

  1. วิษณุ ธรรมลิขิตกุล. องค์ความรู้ของโรค Melioidosis พ.ศ. 2538-2542. รายงานฉบับสมบูรณ์เสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. ธันวาคม พ.ศ. 2542
  2. การสัมมนา โรคติดเชื้อที่อุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ 3-5 เมษายน 2544 โรงแรมเอเซีย กทม. กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข
  3. นิยามโรคติดเชื้อ ประเทศไทย กันยายน 2544 กองระบาดวิทยาและกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข

ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค