จังหวัดพิษณุโลกจังหวัดพิษณุโลก อยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่างห่างจากกรุงเทพ 377 กิโลเมตร พื้นที่ 10,815 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ ร้อยละ 2.1 ของพื้นที่ประเทศไทย หรือร้อยละ 6.3 ของพื้นที่ภาคเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่างๆ ดังนี้
เศรษฐกิจในปี 2540 รายได้เฉลี่ยต่อหัว 40,345 บาท เป็นลำดับที่ 5 ของภาคเหนือและลำดับที่ 40 ของประเทศ2544 รายได้เฉลี่ยต่อหัว 42,456 บาท, ผลิตภัณฑ์มวลรวม 34,092 ล้านบาท การปกครอง และประชากร9 อำเภอ, 93 ตำบล, 981 หมู่บ้าน,1 อบจ, 90 อบต 1 เทศบาลนคร, 12 เทศบาลตำบล ประชากรกลางปี 2544 มี 234,412 หลังคาเรือน จำนวน 866,604 คน แยกเป็นชาย 430,129 คน (ร้อยละ 49.63) หญิง 436,475 คน (ร้อยละ 50.37) ความหนาแน่น เฉลี่ย 75.7 คน/ตร.กม. (ในเขตเทศบาลมีความ หนาแน่น ประชากร เฉลี่ย 4,282 คน/ตร.กม ) ประชากรในจังหวัดพิษณุโลก ส่วนมากจะอาศัยอยู่ในเขต อำเภอเมือง พิษณุโลกมากที่สุด รองลงมาได้แก่ อำเภอ วังทอง
สถานะสุขภาพอัตราเกิดของประชากร 14.5 ต่อ 1000อัตราตายของประชากร 5.0 ต่อ 1000 อัตราเพิ่มของประชากร ร้อยละ 0.95 ต่อปี อัตราส่วนมารดาตาย 21.77 ต่อแสนการเกิดมีชีพ (เป้าหมาย < 20) อัตราทารกตายปริกำเนิด 11.35 ต่อ 1,000 การเกิดทั้งหมด (เป้าหมาย < 10) อัตราทารกแรกเกิดขาดออกซิเจน 44.84 ต่อ 1,000 การเกิดมีชีพ (เป้าหมาย < 35)
การแพทย์และสาธารณสุขรพ.ศูนย์ 1 แห่ง, รพ.ชุมชน 8 แห่ง, สถานีอนามัย 143 แห่ง, สถานบริการสาธารณสุขชุมชน 2 แห่ง
รพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข 9 แห่ง (1,218 เตียง), รพ.สังกัดกระทรวงอื่นๆ 3 แห่ง (195 เตียง), รพ. เอกชน 7 แห่ง (820 เตียง) รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราข, รพ.กองบิน 46 รพ.อินเตอร์เวชการ, รพ.พิษณุเวช, รพ.รวมแพทย์, รพ.รัตนเวช, รพ.ตาและสายตา, รพ.รังสีรักษา จังหวัดพิษณุโลก www.phitsanulok.go.th [ประวัติโรงพยาบาล] [ผู้บริหารโรงพยาบาล] [คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล] [วิสัยทัศน์, พันธกิจ] [ข้อมูลทั่วไป] [คลินิกผู้ป่วยนอก] [ภาพอาคารผู้ป่วยนอก] [แผนผังแสดงที่ตั้งอาคาร] [ข่าว ประชาสัมพันธ์] [จังหวัดพิษณุโลก] [อำเภอเมือง] [เทศบาล] [สถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยว] [ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค] [กลับเมนูหลัก] Please send your comments to nopadol@health2.moph.go.th |