WHO แนะนำว่าควรทำการเพาะเชื้อ (Culture/Sensitivity) เมื่อ
- Re-treatment
- Fail to convert at 2 months
การตรวจเสมหะย้อมเชื้อ AFB
เป็น Screening Test
Specificity = 98%
Sensitivity = 50-70%
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยวัณโรคปอด โดยการตรวจเสมหะ ตรวจ 3 ครั้ง (โดยทั่วไป spot sputum 1 ครั้ง และ collect sputum 2 ครั้ง)
หรือโดยการเพาะเชื้อวัณโรค
หมายเหตุ : ในประเทศที่เจริญแล้วถ้าย้อมพบเชื้อ TB จะทำการเพาะเชื้อ TB และหาความไวต่อยา เพื่อให้ยาตามความไวของยา
การรักษาวัณโรคตามข้อเสนอขององค์การอนามัยโลก
เป้าหมาย cure rate มากกว่า 85% ปัจจุบันมีการใช้ ระบบยา ที่ประกอบด้วย isoniazid rifampicin pyrazinamide และ ethambutol ทำให้สามารถย่นระยะเวลาในการรักษาวัณโรคจากเดิม 12-18 เดือน หรือบางรายอาจถึง 24 เดือน (long course) มาเป็นระยะสั้นลง ซึ่งใช้เวลาเพียง 4-6 เดือน (ในบางรายอาจต้องขยายระยะเวลาเป็น 8-9 เดือน เช่นในผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ร่วมด้วย วัณโรคเยื่อหุ้มสมอง หรือวัณโรคกระดูกสันหลัง)
เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการ กองวัณโรคได้กำหนด สูตรยาระยะสั้น สำหรับผู้ป่วยประเภทต่างๆ ตามข้อเสนอขององค์การอนามัยโลกดังนี้
1. ผู้ป่วย Catagory 1 (CAT.1) : 2HRZE/4HR
ผู้ป่วย Catagory 1 ได้แก่ ผู้ป่วยใหม่ (New) คือผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับการรักษามาก่อนหรือได้รับการรักษามาไม่เกิน 1 เดือน ที่มีผลย้อมเชื้อ (direct smear) เป็นบวก
หรือผู้ป่วยที่มีอาการหนัก (severely ill) ซึ่งมีลักษณะทางคลินิกดังนี้
- M-pulmonary tuberculosis วัณโรคปอดที่เสมหะเป็นลบด้วยวิธีย้อมเชื้อ แต่มีรอยโรคจากภาพรังสีทรวงอกค่อนข้างมาก
- Extrapulmonary tuberculosis เช่น TB. meningitis, pericarditis, peritonitis, spinal disease with neurological complication, genito-urinary tuberculosis ยกเว้นวัณโรคต่อมน้ำเหลือง
Catagory 1 (CAT.1) : 2HRZE/4HR หมายถึง 2 เดือนแรกผู้ป่วยจะได้ยา 4 ขนานได้แก่ Isoniazid (H) Rifampicin (R) Pyrazinamide (Z) และ Ethambutol (E) รับประทานทุกวัน ระยะ 4 เดือนที่เหลือจะได้ยา 2 ขนานคือ Isoniazid และ Rifampicin รับประทานทุกวันหรือสัปดาห์ละ 3 ครั้ง รวมเวลาทั้งสิ้น 6 เดือน ในกรณีที่ผลตรวจเสมหะเมื่อสิ้นสุดเดือนที่ 2 ยังคงเป็นบวก จะต้องขยายเวลาในช่วง 2 เดือนแรก (initial phase) อีก 1 เดือนเป็น 3HRZE
2. ผู้ป่วย Catagory 2 (CAT.2) : 2HRZES/1HRZE/5HRE
ผู้ป่วย Catagory 2 ได้แก่ ผู้ป่วยวัณโรค กลับเป็นซ้ำ relapse (เคยรักษาวัณโรควินิจฉัยว่าหายแล้วต่อมากลับเป็นอีกโดยผลเสมหะยังเป็นบวก) หรือผู้ป่วยมีผลการรักษาล้มเหลว failure (คือผลตรวจเสมหะยังคงเป็นบวกในเดือนที่ 5, หรือหยุดยาไปมากกว่า 2 เดือนผลเสมหะก่อนขาดยาเป็นบวกและตรวจซ้ำก็ยังเป็นบวก, หรือเดิมเสมหะเป็นลบรักษาด้าย CAT.3 ต่อมาผลตรวจเสมหะกลับเป็นบวก )
Catagory 2 (CAT.2) : 2HRZES/1HRZE/5HRE หมายถึง 2 เดือนแรกผู้ป่วยจะได้ยา 5 ขนานได้แก่ ยารับประทานทุกวัน 4 ชนิด Isoniazid Rifampicin Pyrazinamide และ Ethambutol ยาฉีดสัปดาห์ละ 5 วันอีก 1 ขนานคือ Streptomycin เดือนต่อมาผู้ป่วยจะได้ยารับประทาน 4 ขนาน (H, R, Z, E ) และระยะ 5 เดือนสุดท้ายจะได้ยารับประทานทุกวัน 3 ขนาน (H, R, E) ในกรณีที่ผลตรวจเสมหะเมื่อสิ้นสุดเดือนที่ 2 ยังคงเป็นบวก จะต้องขยายเวลาในช่วงแรก (initial phase) อีก 1 เดือนเป็น 2HRZES/2HRZE
ถ้าสถานพยาบาลสามารถทำ susceptibility test ได้ หรือมีข้อมูลว่าผู้ป่วยดื้อยาใน CAT.2 ก็ให้เลือกยาตามผล susceptibility test หรือยาใหม่ที่ผู้ป่วยไม่เคยได้รับอย่างน้อย 3 ขนานขึ้นไป
3. ผู้ป่วย Catagory 3 (CAT.3) : 2HRZ/2HR
ผู้ป่วย Catagory 3 ได้แก่ ผู้ป่วยวัณโรค ที่เสมหะเป็นลบด้วยวิธีย้อมเชื้อ (direct smear) เป็นลบอย่างน้อย 3 ครั้งต่างวันกัน (โดยทั่วไป spot sputum 1 ครั้ง และ collect sputum 2 ครั้ง) และภาพรังสีทรวงอก minimum infiltration และได้ผลดีใน ผู้ป่วยที่ผลตรวจเสมหะด้วยวิธีเพาะเชื้อเป็นบวก แต่ผลตรวจเสมหะด้วยวิธีย้อมเชื้อเป็นลบอย่างน้อย 3 ครั้งต่างวันกัน
Catagory 3 (CAT.3) : 2HRZ/2HR หมายถึง 2 เดือนแรกผู้ป่วยจะได้ยายารับประทานทุกวัน 3 ขนานได้แก่ (H, R, Z)
2 เดือนต่อมาผู้ป่วยจะได้ยายารับประทานทุกวัน 2 ขนานได้แก่ (H, R) รวมเวลาทั้งสิ้น 4 เดือน สำหรับวัณโรคต่อมน้ำเหลือง ซึ่งเป็น extrapulmonary tuberculosis ซึ่งพบได้บ่อยในประเทศไทย ก็สามารถใช้ CAT.3 ได้ผลดีเช่นกัน (แต่ถ้าขนาดของต่อมน้ำเหลืองยังคงไม่เล็กลง อาจให้ INH ชนิดเดียวต่ออีก 4 เดือน)
หมายเหตุ Thiacetazone (T) ซึ่งมักใช้ใน long course และบางประเทศนำมาใช้ในช่วง continueation phase นั้นไม่เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันแล้ว เนืองจากพบว่าอัตราการแพ้ยาสูงมากในผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ ประมาณ 20%
Catagory 4 (CAT.4) : H
ผู้ป่วย Catagory 4 ได้แก่ ผู้ป่วยเรื้อรังที่การรักษาล้มเหลวโดยเฉพาะจาก CAT.2 ให้ยา second line drugs คือ Isoniazid เพียงอย่างเดียว
หมายเหตุ : default หมายถึงผู้ป่วยขาดยาเกินกว่า 2 เดือน ถ้ากลับมารักษาใหม่ให้ปฏิบัติตามคู่มือ
DOTS (Directly Observed Treatment, Short course)
เป็นกลวิธี ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้สถานพยาบาลใช้กับผู้ป่วยวัณโรค DOTS สามารถลด initial drug resistance (การดื้อยาในรายที่ไม่เคยได้รับการรักษามาก่อน) และ aquired drug resistance (การดื้อยาในรายที่เคยได้รับการรักษามาก่อน) หลักการ คือให้ผู้ป่วยกินยาต่อหน้าผู้ควบคุมกำกับ (supervisor)
ผู้ควบคุมกำกับ คือ สมาชิกในครอบครัว เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ในขณะที่อยู่ในโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย ขณะที่ฉีดยา streptomycin อาสาสมัครหรือผู้นำชุมชน
5 องค์ประกอบของกลยุทธ์ DOTS (The Five Elements of the DOTS Strategy)
- นโยบายของรัฐบาลที่จะควบคุมป้องกันวัณโรค
- การวินิจฉัยผู้ป่วยโดยการย้อมเสมหะเพื่อตรวจเชื้อวัณโรคด้วยกล้องจุลทรรศน์ สำหรับผู้ที่มาตรวจ
- การรักษาที่ได้มาตรฐาน 6-8 เดือน สำหรับทุกคนที่เสมหะบวก ด้วยวิธี DOTS อย่างน้อย 2 เดือนแรก
- การจัดหาจัดส่งยาต้านวัณโรคอย่างสม่ำเสมอ
- ระบบจัดเก็บข้อมูลและระบบรายงานโรค
หลักการรักษาวัณโรคดื้อยา (MDR)
MDR พบได้ประมาณ 4.6%
- ให้ยารักษาวัณโรคชนิดที่ยังไม่เคยใช้ 3 ตัว
- ยาฉีด Kanamycin 3-4 เดือน
- รักษานาน 18 เดือน
- ติดตาม BUN, Creatinine, LFT ทุก 3 เดือน CXR ทุก 6 เดือน
ภาคผนวก
การค้นหาวัณโรคดื้อยาโดยการเพาะเชื้อวัณโรค
ขนาดยาและอาการข้างเคียงจากยารักษาวัณโรค
References
- http://www.georgetown.edu/dml/educ/path/lab2/35.htm
- http://www.medhelp.org/glossary/new/GLS_0069.HTM
- นพ. ณัฐสกล ภวนะวิเชียร อายุรแพทย์ http://www.thaicinic.com/tb.html
- กองวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข
- http://www.who.int/inf-fs/en/fact104.html
- http://www.who.int/gtb/dots/index.htm
- http://www.who.int/inf-pr-2001/en/pr2001-46.html
- วัณโรคและโรคระบบการหายใจระดับชาติ นพ.สุรศักดิ์ โค้วสุภัทร์ 16-18 กรกฏาคม 2545 โรงแรมเซนจูรีปาร์ค กทม.
ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค